ClTES
CITES

CITES (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) คือ อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับสัตว์ป่าและพืชพรรณจากป่าที่จะสูญพันธ์ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เพื่อปกป้องและคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชพรรณป่าจากการใช้ประโยชน์เพื่อการค้าระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นมากจนอาจทำให้สัตว์และพืชบางชนิดสูญพันธุ์ได้ ปัจจุบันมีประเทศที่เป็นสมาชิกอนุสัญญา CITES ทั้งสิ้น 152 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยซึ่งเข้าเป็นประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญา CITES เมื่อปี พ.ศ. 2526
ภายใต้อนุสัญญา CITES ประเทศสมาชิกต้องจัดให้มีบทบัญญัติทางกฎหมายที่ใช้บังคับตามข้อกำหนดของอนุสัญญา โดยการห้ามทำการค้าพันธุ์พืชและสัตว์ที่เป็นการละเมิดอนุสัญญา CITES และมีการกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกอนุสัญญา CITES จะประชุมกันในทุก 2 ปี เพื่อทบทวนการนำข้อบังคับของ CITES ไปใช้ ตลอดจนเพื่อทบทวนความเหมาะสมของบัญชีสัตว์และพืชที่อยู่ในอนุสัญญาด้วย
สำหรับบัญชีพืชและสัตว์ตามข้อกำหนดของอนุสัญญา CITES (Appendix) สามารถจำแนกตามความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ได้ดังนี้ Appendix I เป็นบัญชีสัตว์ป่าหรือพืชพรรณป่าที่ใกล้สูญพันธุ์และอาจสูญพันธุ์ได้หากยังนำมาค้าขายกันอยู่ เช่น กล้วยไม้รองเท้านารี กล้วยไม้เอื้องปากนกแก้ว เป็นต้น การค้าสัตว์หรือพืชที่ใกล้สูญพันธุ์มีข้อกำหนดที่เข้มงวดมากจนอาจเรียกได้ว่าเป็นบัญชีสัตว์หรือพืชที่ห้ามทำการค้าขายกันโดยปริยาย เว้นแต่เป็นการขยายพันธุ์หรือ เพาะพันธุ์เพื่อการศึกษาและวิจัยเท่านั้น
Appendix II เป็นบัญชีสัตว์ป่าหรือพืชพรรณป่าที่เหลือค่อนข้างน้อยแต่ยังไม่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ต้นปรง
ต้นพญาไร้ใบ ต้นกฤษณา เป็นต้น สัตว์หรือพืชในบัญชีนี้ได้รับอนุญาตให้มีการค้าขายได้ อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการควบคุมที่เข้มงวด อาจสูญพันธุ์ได้ในที่สุด
Appendix III เป็นบัญชีสัตว์ป่าหรือพืชพรรณป่าที่ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศเห็นว่ามีความจำเป็นต้องให้ความคุ้มครอง จึงขอความร่วมมือจากประเทศสมาชิกอื่นให้ช่วยควบคุมการค้าพืชหรือสัตว์พันธุ์นั้นๆ ด้วย เช่น การควบคุมการค้ามะเมื่อยจากประเทศเนปาล การควบคุมการค้านกขุนทองจากประเทศไทย เป็นต้น
ในการเสนอพันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์บรรจุเข้าในบัญชีตามอนุสัญญา CITES นั้น พืชหรือสัตว์พันธุ์ที่เสนอนั้นต้องยังมีการซื้อขายระหว่างประเทศ และประเทศที่มีพืชหรือสัตว์พันธุ์นั้นอยู่ต้องการให้ประเทศภาคีช่วยควบคุมดูแลมิให้มีการทำการค้าพืชหรือสัตว์พันธุ์นั้นมากจนเกินไป นอกจากนี้ การย้ายรายชื่อพันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์ข้ามบัญชีหรือการถอดถอนรายชื่อออกจากบัญชีสามารถทำได้ในกรณีที่จำนวนประชากรพืชหรือสัตว์นั้น มีมากพอที่จะดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองจากอนุสัญญา CITES อีกต่อไป
ในกรณีของประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งสัตว์ป่าและพืชพรรณป่าหายากเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกันก็มีการค้าพันธุ์พืชป่าและสัตว์ป่าหายากเป็นจำนวนมากทั้งในประเทศและนอกประเทศ จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งให้ความคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชพรรณป่าที่ใกล้สูญพันธุ์เหล่านั้นอย่างจริงจัง โดยมีแนวทางดังนี้
1. วางกฎเกณฑ์ปฏิบัติอย่างชัดเจนสำหรับการห้ามค้าพืชและสัตว์ภายใต้อนุสัญญา CITES เพื่อให้การคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชพรรณป่าได้ผลอย่างจริงจัง
2.กำหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอย่างสมเหตุสมผลมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากบทลงโทษด้วยการเปรียบเทียบปรับในปัจจุบันมีมูลค่าต่ำมากเมื่อเทียบกับมูลค่าสินค้าที่ลักลอบซื้อขายกัน3. พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในการจำแนกพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้การตรวจสอบเพื่อจับกุมหรือการอนุญาตให้ค้าพันธุ์พืชและสัตว์เป็นไปได้อย่างราบรื่น
4. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปและผู้เกี่ยวข้องทราบถึงความสำคัญของทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชพรรณจากป่า เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากพืชและสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนและได้รับประโยชน์จากอนุสัญญา CITES อย่างเต็มที่
ภายใต้อนุสัญญา CITES ประเทศสมาชิกต้องจัดให้มีบทบัญญัติทางกฎหมายที่ใช้บังคับตามข้อกำหนดของอนุสัญญา โดยการห้ามทำการค้าพันธุ์พืชและสัตว์ที่เป็นการละเมิดอนุสัญญา CITES และมีการกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกอนุสัญญา CITES จะประชุมกันในทุก 2 ปี เพื่อทบทวนการนำข้อบังคับของ CITES ไปใช้ ตลอดจนเพื่อทบทวนความเหมาะสมของบัญชีสัตว์และพืชที่อยู่ในอนุสัญญาด้วย
สำหรับบัญชีพืชและสัตว์ตามข้อกำหนดของอนุสัญญา CITES (Appendix) สามารถจำแนกตามความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ได้ดังนี้ Appendix I เป็นบัญชีสัตว์ป่าหรือพืชพรรณป่าที่ใกล้สูญพันธุ์และอาจสูญพันธุ์ได้หากยังนำมาค้าขายกันอยู่ เช่น กล้วยไม้รองเท้านารี กล้วยไม้เอื้องปากนกแก้ว เป็นต้น การค้าสัตว์หรือพืชที่ใกล้สูญพันธุ์มีข้อกำหนดที่เข้มงวดมากจนอาจเรียกได้ว่าเป็นบัญชีสัตว์หรือพืชที่ห้ามทำการค้าขายกันโดยปริยาย เว้นแต่เป็นการขยายพันธุ์หรือ เพาะพันธุ์เพื่อการศึกษาและวิจัยเท่านั้น
Appendix II เป็นบัญชีสัตว์ป่าหรือพืชพรรณป่าที่เหลือค่อนข้างน้อยแต่ยังไม่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ต้นปรง
ต้นพญาไร้ใบ ต้นกฤษณา เป็นต้น สัตว์หรือพืชในบัญชีนี้ได้รับอนุญาตให้มีการค้าขายได้ อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการควบคุมที่เข้มงวด อาจสูญพันธุ์ได้ในที่สุด
Appendix III เป็นบัญชีสัตว์ป่าหรือพืชพรรณป่าที่ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศเห็นว่ามีความจำเป็นต้องให้ความคุ้มครอง จึงขอความร่วมมือจากประเทศสมาชิกอื่นให้ช่วยควบคุมการค้าพืชหรือสัตว์พันธุ์นั้นๆ ด้วย เช่น การควบคุมการค้ามะเมื่อยจากประเทศเนปาล การควบคุมการค้านกขุนทองจากประเทศไทย เป็นต้น
ในการเสนอพันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์บรรจุเข้าในบัญชีตามอนุสัญญา CITES นั้น พืชหรือสัตว์พันธุ์ที่เสนอนั้นต้องยังมีการซื้อขายระหว่างประเทศ และประเทศที่มีพืชหรือสัตว์พันธุ์นั้นอยู่ต้องการให้ประเทศภาคีช่วยควบคุมดูแลมิให้มีการทำการค้าพืชหรือสัตว์พันธุ์นั้นมากจนเกินไป นอกจากนี้ การย้ายรายชื่อพันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์ข้ามบัญชีหรือการถอดถอนรายชื่อออกจากบัญชีสามารถทำได้ในกรณีที่จำนวนประชากรพืชหรือสัตว์นั้น มีมากพอที่จะดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองจากอนุสัญญา CITES อีกต่อไป
ในกรณีของประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งสัตว์ป่าและพืชพรรณป่าหายากเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกันก็มีการค้าพันธุ์พืชป่าและสัตว์ป่าหายากเป็นจำนวนมากทั้งในประเทศและนอกประเทศ จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งให้ความคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชพรรณป่าที่ใกล้สูญพันธุ์เหล่านั้นอย่างจริงจัง โดยมีแนวทางดังนี้
1. วางกฎเกณฑ์ปฏิบัติอย่างชัดเจนสำหรับการห้ามค้าพืชและสัตว์ภายใต้อนุสัญญา CITES เพื่อให้การคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชพรรณป่าได้ผลอย่างจริงจัง
2.กำหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอย่างสมเหตุสมผลมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากบทลงโทษด้วยการเปรียบเทียบปรับในปัจจุบันมีมูลค่าต่ำมากเมื่อเทียบกับมูลค่าสินค้าที่ลักลอบซื้อขายกัน3. พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในการจำแนกพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้การตรวจสอบเพื่อจับกุมหรือการอนุญาตให้ค้าพันธุ์พืชและสัตว์เป็นไปได้อย่างราบรื่น
4. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปและผู้เกี่ยวข้องทราบถึงความสำคัญของทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชพรรณจากป่า เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากพืชและสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนและได้รับประโยชน์จากอนุสัญญา CITES อย่างเต็มที่
อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (อังกฤษ: Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) หรือเรียกโดยย่อว่า ไซเตส (CITES) และเป็นที่รู้จักในชื่อ อนุสัญญากรุงวอชิงตัน (Washington Convention) เป็นสนธิสัญญาซึ่งเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518
ในปี พ.ศ. 2516 สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ได้จัดการประชุมนานาชาติขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อร่างอนุสัญญาดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมประชุม 88 ประเทศ แต่มีผู้ลงนามรับรองอนุสัญญาฉบับนี้ทันทีเพียง 22 ประเทศ สำหรับประเทศไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมด้วย แต่มาลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ. 2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 ปัจจุบัน ไซเตสมีภาคีทั้งสิ้น 181 รัฐ (ณ พฤษภาคม 2558)
เป้าหมายของไซเตส คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือถูกคุกคาม ทำให้ปริมาณร่อยหรอจนอาจเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ วิธีการอนุรักษ์กระทำโดยการสร้างเครือข่ายทั่วโลกในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ (International Trade) ทั้งสัตว์ป่า พืชป่า และผลิตภัณฑ์ ไซเตสไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศสำหรับชนิดพันธุ์ท้องถิ่น (Native Species)
การค้าสัตว์ป่า พืชป่า และผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ จะถูกควบคุมโดยระบบใบอนุญาต (Permit) ซึ่งสัตว์ป่าและพืชป่าที่อนุสัญญาควบคุมจะต้องมีใบอนุญาตในการนำเข้า (Import) ส่งออก (Export) นำผ่าน (Transit) และส่งกลับออกไป (Re-Export) โดยชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่อนุสัญญาควบคุม จะระบุไว้ในบัญชีหมายเลข 1, 2, 3 (Appendix I, II, III) ของอนุสัญญา โดยได้กำหนดหลักการไว้ดังนี้
ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 1 (Appendix I)
เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ห้ามค้าโดยเด็ดขาด เนื่องจากใกล้จะสูญพันธุ์ ยกเว้นเพื่อการศึกษา วิจัยหรือเพาะพันธุ์ ซึ่งต้องได้รับคำยินยอมจากประเทศที่จะนำเข้าเสียก่อน ประเทศส่งออกจึงจะออกใบอนุญาตส่งออกได้ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้น ๆ ด้วย
ตัวอย่างของสัตว์ป่า ที่อยู่ในบัญชีนี้ได้แก่ แพนด้าแดง (Ailurus fulgens) กอริลลา (Gorilla gorilla) ชิมแปนซี (Pan spp.) เสือ (Panthera tigrissubspecies) สิงโตอินเดีย (Panthera leo persica) เสือดาว (Panthera pardus) เสือจากัวร์ (Panthera onca) เสือชีตาห์ (Acinonyx jubatus) ช้างเอเชีย(Elephas maximus) ช้างแอฟริกา (Loxodonta africana) พะยูนและแมนนาที (อันดับพะยูน) สกุลแรด (except some Southern African subspecies populations) ปลาตะพัด(Scleropages formosus) ปลายี่สก (Probarbus jullieni) เป็นต้น
ตัวอย่างของพืชป่า ที่อยู่ในบัญชีนี้ได้แก่ เอื้องปากนกแก้ว (Dendrobium cruentum)
ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 2 (Appendix II)
เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ยังไม่ถึงกับใกล้จะสูญพันธุ์ จึงยังอนุญาตให้ค้าได้ แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนใกล้จะสูญพันธุ์ โดยประเทศที่จะส่งออกต้องออกหนังสืออนุญาตให้ส่งออกและรับรองว่าการส่งออกหนังสืออนุญาตให้ส่งออกและรับรองว่าการส่งออกแต่ละครั้ง จะไม่กระทบกระเทือนต่อการดำรงอยู่ของชนิดพันธุ์นั้นในธรรมชาติ
ตัวอย่างของสัตว์ป่า ที่อยู่ในบัญชีนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharadon carcharias) หมีดำ(Ursus americanus) ม้าลายภูเขาฮาร์นมันน์(Equus hartmannae) นกแก้วจักจั่น (Psittacus erithacus) อีกัวนาเขียว (Iguana iguana) หอยสังข์ราชินี (Strombus gigas) Mertens' Water Monitor (Varanus mertensi), bigleaf mahogany (Swietenia macrophylla) ปลาฉลามปากเป็ดมิสซิสซิปปี (Polyodon spathula) เป็นต้น
ตัวอย่างของพืชป่า ที่อยู่ในบัญชีนี้ได้แก่ แก้วเจ้าจอม (Guaiacum officinale) พะยูง (Dalbergia cochinchinensis)
ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 3 (Appendix III)
เป็นชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งแล้วขอความร่วมมือประเทศภาคีสมาชิกให้ช่วยดูแลการนำเข้า คือจะต้องมีหนังสือรับรองการส่งออก จากประเทศถิ่นกำเนิด
ตัวอย่างของสัตว์ป่า ที่อยู่ในบัญชีนี้ได้แก่ สลอธ 2 นิ้ว (Choloepus hoffmanni) ชะมดแอฟริกา(Civettictis civetta) เต่าอัลลิเกเตอร์(Macrochelys temminckii) เต่าอัลลิเกเตอร์(Macrochelys temminckii)
ตัวอย่างของพืชป่า ที่อยู่ในบัญชีนี้ได้แก่ เมื่อยขาว(Gnetum montanum Markgr.)
การกำหนดรายชื่อชนิดพันธุ์ในบัญชีไซเตสใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ทั้งด้านอนุกรมวิธาน(Taxonomy) และข้อมูลด้านชีววิทยา (Biological Parameter) ได้แก่ ข้อมูลสถานภาพของประชากร (Population Status) แนวโน้มประชากร (Population Trends) การแพร่กระจาย (Distribution) สถานะแหล่งที่อยู่อาศัย (Habitat Availability) แนวโน้มด้านภูมิศาสตร์ (Geographic Trends) และการถูกคุกคาม (Threats) เป็นตัวกำหนด นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ทางการค้าและสถานภาพการทางกฎหมายประกอบในการพิจารณาด้วย
นโยบายมาตรการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย
พระราชบัญญัติ
- พระราชบัญญัติคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ครั้งที่ 13 ในประเทศไทย พ.ศ. 2547
- พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518
- พระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558
ประกาศ
- ประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 58) พ.ศ. 2534
- ประกาศกรมวิชาการเกษตรเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านพืชอนุรักษ์และซากของพืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2547
- กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2537
- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง พืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518
- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง พืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2538
- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง พืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2540
- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง พืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2543
- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง พืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2545
- ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเรื่อง กำหนดชนิดสัตว์ป่าและซากของสัตว์ป่าที่ห้ามนำเข้าหรือส่งออก
- ประกาศกรมวิชาการเกษตรเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขยายพันธุ์เทียม ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2536
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น